ในยุคสมัยที่เทคโนโลยีมีความก้าวหน้า ทำให้ผู้คนในสังคมมีความสะดวกในการเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ได้มากยิ่งขึ้น การให้ข้อมูลส่วนบุคคลแก่องค์กรหรือสื่อออนไลน์ต่าง ๆ จึงเป็นสิ่งที่ผู้ใช้งานไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ สิ่งที่ตามมาคือการถูกละเมิดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล หรือการนำข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต นำมาซึ่งความเดือดร้อน รำคาญ และก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของข้อมูลโดยไม่รู้ตัว ตลอดจนสามารถส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศได้เช่นกัน ดังนั้น เพื่อเป็นการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลและป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายจากกรณีดังกล่าว จึงต้องมีการกำหนดกฎหมาย PDPA หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ขึ้นมาใหม่ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และมาตรการในการกำกับดูแล ให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ให้เกิดความเสียหายจากกรณีดังกล่าว
ก่อนที่จะทราบว่า CDP จะช่วยให้คุณทำการตลาดในยุคที่ต้องแคร์ PDPA ได้อย่างไร? sniper marketing ชวนคุณมาทำความรู้จักกับ PDPA และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจของคุณกันก่อนค่ะ
PDPA คืออะไร?
PDPA (Personal Data Protection Act: PDPA) คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 โดยวันที่ 1 มิถุนายน 2565 เป็นวันที่ พ.ร.บ. PDPA นี้มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายทั้งฉบับ ซึ่งเป็นกฎหมายใหม่ที่ถูกสร้างมาเพื่อป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงการจัดเก็บข้อมูลและนำไปใช้โดยไม่ได้แจ้งให้ทราบหรือไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลเสียก่อน เช่น การซื้อขายข้อมูลชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ อายุ เพศ เบอร์โทรศัพท์ บัญชีธนาคาร ประวัติสุขภาพ หรือข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสามารถใช้ระบุถึงตัวเจ้าของข้อมูลเหล่านั้นได้ ทั้งช่องทางออฟไลน์หรือออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลในรูปแบบเอกสาร กระดาษ หนังสือ หรือจัดเก็บในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้เช่นกัน
ข้อมูลส่วนบุคคล คืออะไร?
ข้อมูลส่วนบุคคล คือ ข้อมูลที่สามารถระบุตัวตนของบุคคลนั้น ๆ ได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ยกเว้น ข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมและข้อมูลนิติบุคคล จะไม่ถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)
ข้อมูลส่วนบุคคลที่ PDPA คุ้มครองมีอะไรบ้าง?
- ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) ได้แก่ ชื่อ – นามสกุล, เลขประจำตัวประชาชน, ที่อยู่, เบอร์โทรศัพท์, วันเกิด, อีเมล, การศึกษา, เพศ, อาชีพ, รูปถ่าย, ข้อมูลทางการเงิน, โฉนดที่ดิน, ทะเบียนบ้าน รวมทั้งข้อมูลอื่น ๆ บนโซเชียลมีเดียอย่างรหัสผ่านหรือการระบุตำแหน่งที่อยู่ เป็นต้น
- ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน (Sensitive Personal Data) ได้แก่ เชื้อชาติ, ข้อมูลทางการแพทย์หรือสุขภาพ, ข้อมูลทางพันธุกรรมหรือไบโอเมทริกซ์ (Biometric) เช่น ใบหน้า ลายนิ้วมือ, ความคิดเห็นทางการเมือง, พฤติกรรมทางเพศ, ประวัติอาชญากรรม, ความเชื่อทางศาสนาหรือปรัชญา และข้อมูลสหภาพแรงงาน เป็นต้น
PDPA ส่งผลกระทบต่อการทำธุรกิจอย่างไร?
เมื่อมีกฎหมาย PDPA ออกมาคุ้มครองความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน ซึ่งเป็นข้อมูลที่สามารถระบุตัวตนของเจ้าของข้อมูลได้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ผลกระทบแรกที่นักธุรกิจหรือผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นรายเล็กหรือใหญ่ต้องเผชิญ ก็คือ การเข้าถึงส่วนบุคคลที่ยากมากขึ้น ทำให้การจัดเก็บข้อมูล เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และวางแผนการทำการตลาดด้วยเครื่องมือ Digital Marketing ต่างๆ ต้องได้รับความยินยอม (Consent) จากเจ้าของข้อมูล ก่อน เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)
หากเจ้าของข้อมูลถูกละเมิดลิขสิทธิ์จากองค์กรธุรกิจหรือร้านค้าที่ไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย หรือมีการเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อน โดยเฉพาะข้อมูลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Personal Data) ที่อาจส่งผลกระทบให้กับเจ้าของข้อมูลได้ในวงกว้าง ทำให้มีการกำหนดโทษหนักกว่าการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป และอาจนำไปสู่โทษทางอาญาได้อีกด้วย ซึ่งกฎหมาย PDPA จะมีบทลงโทษทั้งในทางแพ่ง อาญา และปกครอง ดังนี้
- โทษทางแพ่ง : มีการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง หรือต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนเพิ่มขึ้นอีกไม่เกิน 2 เท่าของความเสียหายที่แท้จริง
- โทษทางอาญา : จำคุกสูงสุดไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- โทษทางปกครอง : ปรับสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท
ดังนั้น สิ่งที่นักธุรกิจหรือเจ้าของกิจการต้องทำเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย PDPA นั่นก็คือ การขอความยินยอมในการเก็บข้อมูล (Consent) โดยการกำหนดนโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy) เพื่อให้เจ้าของข้อมูลมั่นใจได้ว่า ข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านั้นจะได้รับการปกป้อง ดูแล และนำไปประมวลผลอย่างเหมาะสม โปร่งใส และเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) นั่นเอง
CDP ช่วยให้คุณทำการตลาดในยุคที่ต้องมี PDPA ได้อย่างไร?
หากคุณเคยมีโอกาสได้อ่านบทความที่ทาง sniper marketing เคยเขียนไว้ว่า ‘ธุรกิจคุณต้องเริ่มใช้ CDP ตั้งแต่เมื่อไหร่?’ คุณจะทราบได้ทันทีว่า คุณสมบัติที่โดดเด่นของ CDP คือ การเชื่อมโยงข้อมูลอัตโนมัติจากหลากหลายแหล่งเข้าไว้ด้วยกันได้อย่างครอบคลุมและครบถ้วนมากที่สุดไม่แพ้แพลตฟอร์มหรือเครื่องมืออื่น ๆ ในยุคนี้
ดังนั้น เมื่อมีการใช้กฎหมาย PDPA มาเป็นข้อกำหนดในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล CDP จึงตอบโจทย์ในการช่วยให้เจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบสามารถจัดการข้อมูลเหล่านั้นได้อย่างรวดเร็วและเป็นไปตามข้อตกลงร่วมกันกับลูกค้า กล่าวคือ ในขณะที่ PDPA ทำให้ลูกค้าสามารถเลือกได้ว่าจะอนุญาตให้แบรนด์หรือองค์กรเข้าถึงข้อมูลส่วนใดได้บ้าง สิ่งที่ CDP จะช่วยได้ ก็คือ เลือกเก็บข้อมูลเฉพาะส่วนที่ลูกค้ายินยอมให้มีการเข้าถึงข้อมูลส่วนดังกล่าวเท่านั้น หากลูกค้าต้องการให้ลบหรือยกเลิกการเข้าถึงข้อมูล CDP ก็สามารถตอบสนองความต้องการนั้นได้ในทันที โดยไม่ยกเลิกการส่งข้อความ โฆษณา หรืออีเมลโปรโมชั่นต่างๆ ที่อาจรบกวนลูกค้าได้ในอนาคตนั่นเอง
จะเห็นได้ว่า ในยุคที่ข้อมูลลูกค้าถูกจำกัดการเข้าถึงข้อมูล โดยให้องค์กรหรือผู้ประกอบการต้องทำตามข้อกำหนดของกฎหมาย PDPA นั้น CDP ถือเป็นตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้คุณสามารถจัดการข้อมูลลูกค้าได้อย่างง่ายดาย โดยแยกประเภทของข้อมูลได้ตามต้องการ ทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลมีความแม่นยำและนำไปต่อยอดการพัฒนาบริการหรือสินค้า รวมถึงสร้างแคมเปญได้ตรงเฉพาะกลุ่มลูกค้า (Personalize Marketing) อย่างไร้ขีดจำกัด ทำให้สามารถคุมต้นทุนในการทำการตลาดได้ง่ายและได้ผลลัพธ์ที่ดีมากยิ่งขึ้น
หากคุณสนใจเครื่องมือที่พร้อมจะช่วยให้การจัดการข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างครอบคลุมและปลอดภัยตามมาตรฐานระดับสากล สามารถติดต่อ sniper marketing เพื่อรับคำปรึกษา นัดหมายพูดคุยในการวางแผนการใช้กลยุทธ์ทำการตลาดที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณตั้งแต่ก้าวแรก ด้วยเครื่องมือทำการตลาดอัจฉริยะ “SNIPER CDP” ได้ที่เว็บไซต์ https://sniper.tech/sniper-cdp/ หรือไลน์แอด @snipertech หรือโทรติดต่อ 093-498-2446
ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก : https://www.etda.or.th/th/